บทความสาระประโยชน์: เคลือบเซรามิก เกี่ยวกับ เคลือบแก้วอย่างไร?


คำว่าเคลือบแก้วมาจากไหน?

ก่อนหน้านี้สารตั้งต้นในการผลิตน้ำยาเคลือบแก้วนั้นหลักๆจะใช้ ซิลิคอน ไดออกไซด์ (อังกฤษ: silicon dioxide) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า ซิลิกา (ลาติน  silex) สูตรทางเคมีคือ Sio2 และที่เราใช้คำว่าเคลือบแก้วสำหรับรถยนต์นั้นก็เนื่องมาจาก 2 เหตุผลหลักๆก็คือ

1.ซิลิกาเป็นวัสดุที่มักถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตแก้ว คริสตัล ขวดน้ำ เจล เป็นต้น
2.เมื่อนำน้ำยาเคลือบแก้วที่เราใช้เคลือบสีรถ ตกผลึก หรือเซ็ตตัว ก็จะเป็นผลึกแข็ง ใส เหมือนแก้ว
“นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงเรียกน้ำยาประเภทนี้ว่าน้ำยาเคลือบแก้ว เพราะเนื่องจากเป็นคำนิยามง่ายๆตรงๆตามจุดประสงค์ของสารตั้งต้น และความใกล้เคียงในรูปลักษณ์หลังจากตกผลึกแล้ว”

       คำว่าเคลือบเซรามิกมาจากไหน?

       ผ่านมา 2-3 ปีหลัง โดยเฉพาะในช่วงนี้ คำว่าเคลือบเซรามิกพยายามมาแทนที่ หรือมาแข่งขันคำว่าเคลือบแก้วทางธุรกิจ โดยแนวโน้มการให้ข้อมูลเป็นลักษณะที่เหมือนเหนือกว่า ดีกว่าเคลือบแก้ว โดยอ้างว่าแข็งกว่าบ้าง ทนกว่าบ้าง เหตุผลเหล่านี้มาจากไหน? เชื่อถือได้หรือไม่ อย่างไร? เรื่องนี้ต้องเหลากันยาวหน่อยลองมาพิจารณาข้อมูลเหล่านี้แล้วนึกภาพตามกันนะครับ

        คำว่า “เซรามิก” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก (Keramos) มีความหมายว่า “สิ่งที่ถูกเผา” ซึ่งในอดีต เซรามิกดั้งเดิมจะถูกนำมาใช้งานมากที่สุด โดยทำมาจากดินเหนียวเป็นหลัก เพื่อนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น จาน ชามดินเผา กระเบื้อง หรือ อิฐ เป็นต้น ต่อมามีประพัฒนาเซรามิกประเภทใหม่ๆมากมาย คำว่า “เซรามิก”จึงมีความหมายที่ค่อนข้างกว้าง คำจำกัดความจะหมายถึงองค์ประกอบสองส่วนเข้าด้วยกัน นั่นคือ วัสดุ และกระบวนการ เช่น การนำดินเหนียว(วัสดุ)มาปั้นและเผา(กระบวนการ) เราจะเรียกเป็นเครื่องปั้นดินเผา นั่นก็คือ เซรามิกประเภทหนึ่ง หรือหากเราปั้นเป็นจานแล้วเผา ก็สามารถเรียกว่า จานเซรามิกได้เช่นกัน

       เคลือบเซรามิกเกี่ยวกับเคลือบแก้วอย่างไร?

น้ำยาเคลือบแก้วที่มีสารตั้งต้นมาจาก “ซิลิกา” เมื่อทำปฏิกิริยากับอากาศและอุณหภูมิ จะมีความเครียดน้อยลง มีผลึกที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แตกหักยากขึ้น มีความเป็นเนื้อเดียวกัน นั่นก็ถือเป็นเซรามิกประเภทหนึ่งเช่นเดียวกัน (ซิลิกา=วัสดุ,ทำปฏิกิริยากับอากาศและอุณหภูมิ=กระบวนการ) ดังนั้น เมื่อเรานำมาใช้งานโดยการเคลือบแล้วเกิดปฏิกิริยาดังกล่าว นั่นก็คือการ “เคลือบเซรามิก”  แต่ว่าน้ำยานี้เมื่อเซ็ตตัวแล้วจะเป็นผลึกใสคล้ายแก้ว และสารตั้งต้น(ซิลิกา)ก็มักจะถูกนำมาผลิตแก้ว เราจึงสามารถเรียกว่า “เคลือบแก้ว” ได้เช่นกัน  คำว่าเคลือบเซรามิก จึงเป็นคำนิยามตามประเภทของวัสดุและกระบวนการรวมกัน ส่วนคำว่าเคลือบแก้วจะเป็นคำนิยามแบบเปรียบเทียบผลึกที่เหมือนแก้ว หรือเพราะสารตั้งต้น(ซิลิกา)นี้มักนำไปผลิตเป็นแก้วนั่นเอง ด้วยเหตุผลนี้เราจึงสามารถเรียกสารเคลือบแข็งประเภทนี้ว่า “เคลือบแก้ว” หรือเคลือบ “เซรามิก” ก็ได้



1.      เคลือบแก้วควรหนาขนาดไหน การเคลือบแก้วหลายชั้นจำเป็นไหม
เคลือบแก้วที่แท้จริงจะมีความหนาเพียงแค่ 2-3 ไมครอนเท่านั้นซึ่งเพียงพอต่อการปกป้องแล้ว และหากต้องการเคลือบซ้ำหลายๆชั้นก็ทำได้แค่ไม่เกิน 3 ชั้นเพราะตัวน้ำยาจะไม่เกาะกันเองและต้องทำต่อเนื่องในครั้งเดียว ไม่สามารถทำไปแล้วทิ้งไว้ซักระยะนึงแล้วกลับมาทำอีกรอบได้
 2.      ทำไมถึงต้องมีเคลือบแก้ว DIY
ปัจจุบันการเคลือบแก้วมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากและสมัยก่อน เพียงทำตามขั้นตอนซึ่งคล้ายการเคลือบ wax ธรรมดาเท่านั้น ซึ่งสามารถดูได้จาก วีดีโอ สาธิต
3.      คุณสมบัติของเคลือบแก้วที่ดี
อย่างแรก คือ ส่วนประกอบที่สำคัญต้องมีสาร  Silica Dioxide (Sio2) เป็นส่วนประกอบหลักที่ทำให้น้ำยาเคลือบแก้วมีความแข็งและยึดเกาะกับผิวรถได้อย่างยาวนานเกิน 2 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่แยกระหว่างเคลือบแก้วแท้หรือเทียม เนื่องจากเป็นสารที่มีราคาแพงกว่า polymer ทั่วไป ส่วนคุณสมบัติต่างๆที่อยู่ในเคลือบแก้วดังนี้
- ป้องกันน้ำเกาะผิว
- ลดฝุ่นเกาะผิว                       
- ป้องกันรังสี UV.                                   
- ลดสิ่งสกปรกเกาะผิว                           
- ความแข็งอยู่ระหว่าง 5-7 H                               
- ปกป้องยาวนาน 2-3 ปี      
- ทนความร้อนสูง                        
- ความหนาของชั้นแก้ว 2-3 ไมครอน             
- ป้องกันความเป็นกรด-ด่าง 1-12 ph         
- เพิ่มความเงางามให้รถสูง
7. ราคาค่าบริการเคลือบแก้วที่ดีควรอยู่ที่เท่าไหร่
          เนื่องจากราคาเคลือบแก้วปัจจุบันมีตั้งแต่ราคาหลักร้อย หลักพัน ถึงหลักหมื่น หลักแสน แล้วอะไรหล่ะคือราคาที่แท้จริง ถูกเกินไป หรือ แพงเกินไป จะน่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การใช้ราคาเป็นเกณฑ์ตัดสินคงไม่ใช่คำตอบที่ดีนัก เราควรจะพิจารณาเรื่องคุณภาพผลิตภัณฑ์ ความคงทนของเคลือบแก้ว การบริการก่อน และหลังการขาย ควบคู่กันไปด้วย ว่ามันคุ้มกับราคานั้นหรือไม่ เพราะหากราคาถูก แต่คุณภาพไม่ดี สุดท้ายเราอาจจะต้องเสียเงินมากกว่าเดิมก็เป็นไปได้ โดยปกติแล้วหากน้ำยาดีมีคุณภาพ ก็อาจจะมีราคาแพงเป็นธรรมดา เพราะ“ของดี ราคาถูก” คงไม่มี จะมีก็แต่ “ของดี ราคาสมเหตุสมผล” แต่ก็ควรระมัดระวังด้วยเช่นกัน เพราะบางที่อาจตั้งราคาให้สูง เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ซึ่งในความเป็นจริง แล้วอาจใช้ของที่ไม่มีคุณภาพ ฉะนั้นเราควรสังเกตด้วยว่าน้ำยาที่ใช้เคลือบเป็นของอะไร โดยน้ำยาที่ดีจะต้องเป็นผู้ผลิตที่มีตัวตนชัดเจน หรือ มี Reference ผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ เพราะสมัยนี้ของปลอมมันเยอะมาก

นอกจากนี้ ยังต้องตรวจสอบดูให้ดีด้วยว่า ร้านที่เราไปทำเป็นการเคลือบแก้วหรือแค่เคลือบสีธรรมดา โดยทั่วไปแล้ว การเคลือบแก้วจะมีราคาค่าบริการสูงกว่าการเคลือบสีทั่วไป เพราะการเคลือบแก้วนั้น มีรายละเอียดขั้นตอนมากกว่าการเคลือบสีทั่วไปอย่างมาก และจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ การเคลือบแก้วจะมีราคาเท่าหรือสูงกว่าเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการเคลือบสีทั่วไป





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น